ประเด็นที่ 1 การบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่สะท้อนการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง 3 ปีการศึกษา
(ปีการศึกษา 2564 - 2566)
1.1 นโยบายการดําเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความปลอดภัยในสถานศึกษา
1.1.1 วิสัยทัศน์ของสถานศึกษา สะท้อนให้เห็นถึงความสําคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความปลอดภัยในสถานศึกษา โดยมีการกําหนดนโยบายอย่างชัดเจน
โรงเรียนมีนโยบายดำเนินงานโดยใช้เทคนิค SWOT analysis เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและคุณภาพผู้เรียน มีกระบวนการบริหารและการจัดการระบบคุณภาพตามโครงการส่งเสริมการบริหารแบบมีส่วนร่วมและสร้างภาคีเครือข่ายเน้นการมีส่วนร่วมและการทำงานเป็นทีม
การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีขั้นตอนอย่างเป็นระบบ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้บริหาร ครูที่ปรึกษาและภาคีเครือข่ายร่วมมือกันดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบตลอดปีการศึกษาภายใต้กลยุทธ์ที่มุ่งเน้นถึงคุณภาพผู้เรียน Student FIRST
1.1.2 มีแผนปฏิบัติการประจําปีที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่ระบุการดําเนินงานเกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และความปลอดภัยในสถานศึกษาในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
มีการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มุ่งเน้นการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างรอบด้านทั้งทางด้านวิชาการ คุณธรรมจริยธรรม คุณลักษณะอังพึงประสงค์และการมีจิตสำนึกต่อส่วนรวมผ่านการจัดกิจกรรม โครงการต่าง ๆ
1.1.3 มีคําสั่งแต่งตั้งคณะทํางานเกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และความปลอดภัยในสถานศึกษา
มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองนักเรียน คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานความปลอดภัย (RST safety center) จัดทำคู่มือการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1.1.4 มีระเบียบ คู่มือ แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และความปลอดภัย ในสถานศึกษาโดยนํามาใช้ได้อย่างเหมาะสม
งานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้จัดทำคู่มือการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนการเสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองนักเรียนเพื่อเป็นคู่มือในการดำเนินงานให้แก่ครูที่ปรึกษา
1.2 แนวทาง/รูปแบบการบริหารจัดการของสถานศึกษาสะท้อนแนวคิดที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของสถานศึกษา
1.2.1 มีการวิเคราะห์สภาพปัญหา นําผลการดําเนินงานมาปรับปรุงและพัฒนาในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และความปลอดภัยในสถานศึกษา มีการบริหารและดําเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการจุดเน้นของ สพฐ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
มีการวิเคราะห์สภาพปัญหา และได้นำผลการดำเนินงานมาปรับปรุงพัฒนาในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความปลอดภัยในสถานศึกษา มีการกำหนดนโยบายสอดคล้องกับสภาพปัญหาของสถานศึกษา สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ข้อที่ 1 ด้านการจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย โดยการสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษาเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของสังคมและป้องกันภัยคุกคามในชีวิตทุกรูปแบบ และนโยบายของ สพฐ. ในข้อที่ 8 เสริมสร้างความปลอดภัยของสถานศึกษา โดยปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและสร้างเครือข่ายและกลไกในการดูแลความปลอดภัยในสถานศึกษา
1.2.2 ภาคีเครือข่ายและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการกําหนดแนวทาง/รูปแบบ ของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความปลอดภัยในสถานศึกษา
โรงเรียนร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สมาคมผู้ปกครองและครู เครือข่ายผู้ปกครอง ชมรมครูอาวุโส สมาคมศิษย์เก่า องค์กรภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สถานีตำรวจนครบาลท่าข้าม ศูนย์บริการสาธารณสุข 65 รักษาสุขบางบอน โรงพยาบาลนครธน มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก มูลนิธิแพธทูเฮลท์ กรมสุขภาพจิต
1.2.3 มีรูปแบบการดําเนินงานที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและบริบทของสถานศึกษาอย่างมีคุณภาพ
มีการบูรณาการการทำงานร่วมกับองค์กรภายนอก ส่งเสริมให้มีการจัดจ้างครูผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ และโรงเรียนร่วมกับมูลนิธิครอบครัวพอเพียงเพื่อเสริมสร้างการคุ้มครองและความปลอดภัย เพื่อสร้างความเข้มแข็งของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความปลอดภัยในทุกมิติ
1.2.4 มีแผนปฏิบัติการประจําปีที่เกี่ยวข้อง กับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความปลอดภัยในสถานศึกษา
โรงเรียนมีโครงการที่ส่งเสริมเพื่อสร้างความเข้มแข็งของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความปลอดภัยในทุกมิติมีการเยี่ยมบ้านนักเรียน การมอบทุนการศึกษา มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดระบบ Smartvoice ระบบแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน SOS ตลอดจนมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่มีมาตรฐาน
1.3 ข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความปลอดภัยในสถานศึกษา
1.3.1 มีข้อมูลนักเรียนรายบุคคลที่เป็นปัจจุบัน และมีข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผลการคัดกรองนักเรียน 3 ปีการศึกษาย้อนหลังต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ
โรงเรียนมีข้อมูลนักเรียนที่เป็นปัจจุบันและสามารถนำไปใช้ได้อย่างทันท่วงที เช่น ระบบ DMC ระบบ Studentcare และระบบปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน การจัดเก็บข้อมูลสามารถเข้าถึงง่าย
1.3.2 มีข้อมูลสารสนเทศที่แสดงผลการดำเนินงานการพัฒนา ป้องกันแก้ไขปัญหา และส่งต่อตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนมีการคัดกรองนักเรียน ตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ถือเป็นวาระสำคัญของโรงเรียน ที่ครูที่ปรึกษาดำเนินการด้วยความรอบคอบและทั่วถึง เพื่อวางแผนในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและส่งต่อข้อมูล
1.3.3 มีการนําข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองนักเรียน 3 ปีการศึกษาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนจัดทำรายงานผลการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นประจำทุกปีเพื่อให้การดำเนินงานเข้มแข็ง อีกทั้งยังเป็นการสรุปเพื่อให้เห็นภาพรวมของการดำเนินงานในปีการศึกษาที่ผ่านมาเพื่อนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาป้องกันแก้ไขปัญหา
1.3.4 มีข้อมูลสารสนเทศ เกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานศึกษา ได้แก่
- ภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์
- ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ
- ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ์
- ภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ
มีการแต่งตั้งคณะกรรมการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับสถานศึกษามอบหมายให้ครูที่ปรึกษา มีหน้าที่ในการประเมินนักเรียนรายบุคคล รวบรวมข้อมูล คัดกรองนักเรียนแยกอย่างชัดเจนรายงานผลต่อฝ่ายบริหาร จากสารสนเทศพบว่า มีนักเรียนที่ประสบภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุเพียง 1 คน ในปีการศึกษา 2565 คิดเป็นร้อยละ 0.03 ในปีนั้น
1.3.5 มีข้อมูลสารสนเทศที่แสดงให้เห็นว่านักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาให้รู้เท่าทัน และป้องกันความไม่ปลอดภัย เสี่ยงต่อการเกิดความไม่ปลอดภัยของนักเรียนในสถานศึกษา
โรงเรียนมีการสรุปข้อมูลพร้อมทั้งรายงานผลทุกปีเพื่อนำผลที่ใด้ไปปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้นแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการรายงานผลอย่างเป็นระบบ