ประเด็นที่ 2 การดําเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความปลอดภัยในสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
2.1 การดําเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนครบทั้ง 5 ขั้นตอน และความปลอดภัยในสถานศึกษาโดยดําเนินงานสอดคล้องอย่างเป็นระบบ
2.1.1 มีวิธีการและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล
มีวิธีการและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคลตามระบบ ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องมือในการทำความรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล เครื่องมือการคัดกรองนักเรียน เพื่อป้องกันและแก้ไข รวมไปถึงมีการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ
2.1.2 มีวิธีการจัดทําข้อมูลเพื่อคัดกรองจัดกลุ่มนักเรียน
โรงเรียนได้แบ่งนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มความสามารถพิเศษ กลุ่มวางใจกลุ่มห่วงใย และกลุ่มใกล้ชิดโดยครูที่ปรึกษาคัดกรองนักเรียนในกลุ่มของตนเป็นรายบุคคล และร่วมกับนักเรียนทำแบบประเมินพฤติกรรม (SDQ) รายบุคคลเยี่ยมบ้าน การสังเกตพฤติกรรม การสัมภาษณ์ ข้อมูลประวัติส่วนตัว ด้านการเรียน พฤติกรรมด้านอารมณ์ ความประพฤติ บุคลิกภาพและความสัมพันธ์ด้านความสามารถทางสังคมและเศรษฐกิจ
2.1.3 มีโครงการ กิจกรรม/แนวทางแก้ไขปัญหา ส่งเสริมพัฒนานักเรียนครบทุกกลุ่มที่คัดกรอง
ระหว่างปีการศึกษา 2564-2566 โรงเรียนจัดโครงการที่เสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขมี PLC ร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหานักเรียนและสนับสนุนส่งเสริมนักเรียนในระดับชั้นมีการจัดตั้งชุมนุมโดยนักเรียนมากกว่า 86 ชุมนุม
2.1.4 มีตัวอย่างวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างน้อย 2 โครงการ/กิจกรรม/แนวทาง
1. กิจกรรมหน้าเสาธง ครูที่ปรึกษาพบนักเรียนในช่วงเช้าและรายงานจำนวนนักเรียนก่อน 07.45 น. เพื่อติดตามนักเรียนในการเข้าเรียนของนักเรียน เพื่อป้องกันนักเรียนหลุดออกจากระบบการศึกษา
2. กิจกรรมโฮมรูม ครูที่ปรึกษาพบนักเรียนทุกวันพฤหัสบดี จำนวน 1 คาบเรียน เพื่อจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตให้กับนักเรียนและการให้คำปรึกษานักเรียนในเรื่องต่าง ๆ
2.1.5 มีตัวอย่างการส่งเสริมพัฒนานักเรียนอย่างน้อย 2 โครงการ/กิจกรรม /แนวทาง
1. โครงการห้องเรียนพิเศษ ส่งเสริมความสามารถพิเศาของผู้เรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และหุ่นยนต์เช่น กิจกรรมเสริมทักษะดนตรี กิจกรรมเสริมทักษะด้าน Coding หุ่นยนต์ กิจกรรมเสริมทักษะด้านภาษาอังกฤษ กิจกรรมเสริมทักษะด้านภาษาจีน เป็นต้น
2. โครงการส่งเสริมทักษะความเป็นผู้นำในศตวรรษที่ 21 เช่น กิจกรรมเลือกตั้งผู้นำนักเรียนกิจกรรมสภานักเรียน กิจกรรมค่ายผู้นำนักเรียน เป็นต้น
2.1.6 วิธีการส่งต่อภายในและภายนอกที่มีประสิทธิภาพ
1. การส่งต่อภายใน เมื่อพบนักเรียนปัญหาครูที่ปรึกษาจะดำเนินการช่วยเหลือนักเรียนด้วยการให้คำปรึกษาเบื้องตัน หากเป็นปัญหาที่ซับซ้อนจะดำเนินการส่งต่อไปยังระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน งานระเบียบวินัย งานแนะแนว หรืองานพยาบาล เพื่อดำเนินการวางแผนและแก้ไขปัญหาร่วมกัน
2. การส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญภายนอก หลังจากให้การช่วยเหลือนักเรียนแล้ว ไม่สามารถแก้ปัญหาได้เนื่องจากพบนักเรียนที่มีปัญหาที่ยากต่อการช่วยเหลือที่มีความชับช้อนหรือรุนแรง โรงเรียนจะเชิญผู้ปกครองมาร่วมกันปรึกษาหารือ เพื่อดำเนินการส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญภายนอกเฉพาะทาง
2.1.7 การดําเนินงานแต่ละขั้นตอนเป็นไปอย่างมีระบบครบวงจร
การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นไปอย่างมีระบบครบวงจร โดยการดำเนินงานตามกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้ง 5 ขั้นตอน คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียนการส่งเสริมพัฒนานักเรียน การป้องกันและแก้ไข การส่งต่อนักเรียน ซึ่งนักเรียนร้อยละ 100 ได้รับการดูแลช่วยเหลือจากครูที่ปรึกษาอย่างมีระบบครบวงจร
2.1.8 นํานวัตกรรมในการดําเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนนําไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม
กระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้ง ๕ ขั้นตอน คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียนการส่งเสริมพัฒนานักเรียน การป้องกันและแก้ไข การส่งต่อนักเรียน ซึ่งนักเรียนร้อยละ 100 ได้รับการดูแลช่วยเหลือจากครูที่ปรึกษาอย่างมีระบบครบวงจร (PDCA)
2.1.9 แสดงตัวอย่างวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) หรือนวัตกรรม อย่างน้อย 1 ชิ้นงาน
โรงเรียนมีการเสริมสร้างความปลอดภัยที่เป็นเลิศ (The Best Safety Practice) โดยร่วมกับครอบครัวพอเพียงในการขับเคลื่อนการจัดกิจกรรมภายใต้พันธกิจที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีกระบวนการในการดูแลเพื่อน มีระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการป้องกันอันตราย อาทิ ระบบกล้องวงจรปิด AI ระบบ smartvoice ที่ใช้การเฝ้าระวังภัยที่อาจเกิดขึ้นผ่านไปยังเสียงตามสาย ระบบแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน SOS เป็นต้น
2.2 การดําเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม
2.2.1 มีวิธีการรู้จักนักเรียนและวิเคราะห์สถานการณ์ที่อาจเกิดความไม่ปลอดภัยต่อนักเรียน
ครูที่ปรึกษาทุกห้องเรียนดำเนินการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ผ่านแบบคัดกรองนักเรียนรายบุคคล ในระบบ Student care แบบเยี่ยมบ้านนักเรียนเป็นรายกรณี เพื่อวิเคราะห์ผู้เรียนและสถานการณ์ที่อาจจะเกิดความไม่ปลอดภัยของนักเรียนในด้านต่าง ๆ
2.2.2 มีวิธีการที่เสริมสร้างความปลอดภัยให้แก่นักเรียนภายใต้มาตรการ 3 ป (ป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปราม)
ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการพัฒนารูปแบบการบริหารให้เหมาะสมกับบริบทโรงเรียน โดยมุ่งเน้นการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ผู้เรียน บุคลากร มีวิธีการบริหารไปสู่ความสำเร็จซึ่งมีกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงตามมาตรการ 3 ป. ได้แก่ ป้องกัน ปลูกฝัง และปราบปราม
2.2.3 มีวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยในสถานศึกษาครอบคลุมทั้ง 4 ภัย
โรงเรียนได้จัดตั้งคณะทำงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยในสถานศึกษาครอบคลุมภัย ทั้ง 4 ภัย คือ ภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภวะทางกายและจิตใจ ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ ภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ มีการประสานหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
2.2.4 มีแผนและแนวทางในการเผชิญเหตุ ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมและทันเวลา
โรงเรียนได้จัดทำคู่มือการเฝ้าระวัง ติดตาม และแผนเผชิญเหตุ เพื่อรองรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ของโรงเรียน เพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์และการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครอบครัว เป็นต้น
2.3 การดําเนินการเสริมสร้างทักษะชีวิตอย่างเป็นรูปธรรม
2.3.1 มีข้อมูลที่แสดงว่า นักเรียนทุกกลุ่ม ทุกคนได้รับการเสริมสร้างทักษะชีวิต
นักเรียนทุกกลุ่ม ทุกคนได้รับการเสริมสร้างทักษะชีวิตจากการบูรณาการการจัดกิจกรรมของระดับชั้นและการจัดการเรียนการสอน โดยครูผู้สอนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และผ่านการทำกิจกรรม อาทิ กิจกรรมเสริมนอกหลักสูตร กิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลก รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี กิจกรรมจิตอาสา
2.3.2 มีโครงการ/กิจกรรมที่เสริมสร้างทักษะชีวิต
โครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษา โครงการกีฬาต้านยาเสพติด การอบรมให้ความรู้ การดำเนินการส่งเสริมพัฒนาให้เกิดความรู้เท่าทัน และป้องกันความไม่ปลอดภัย โรงเรียนมีกิจกรรมการอบรมเพื่อมอบความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยสถานศึกษา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการ เกี่ยวกับเพศและความแตกต่าง แต่ไม่แตกแยก การอบรมระบบการรับแจ้งเหตุ
2.3.3 บูรณาการเสริมสร้างทักษะชีวิตในการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้
มีการจัดทำแผนการสอนแบบบูรณาการ เสริมสร้างทักษะชีวิต อาทิเช่น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาวิทยาการคำนวณ วิชาสุขศึกษาและแนะแนว เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องเพศ และเสริมสร้างทักษะชีวิต
2.3.4 มีข้อมูลที่แสดงว่านักเรียนมีพัฒนาการด้านพฤติกรรมที่ดีขึ้น
โรงเรียนมีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการช่วยเหลือที่เหมาะสม เฝ้าติตตามดูแลนักเรียนกลุ่มห่วงใยอย่างต่อเนื่อง สร้างขวัญกำลังใจ โดยการติดตามเยี่ยมเยือนอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้นักเรียนมีพัฒนาการด้านพฤติกรรมที่ดีขึ้น
2.3.5 มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) การใช้พฤติกรรมเชิงบวกในการจัดการชั้นเรียน /เสริมสร้างพฤติกรรมเชิงบวกของนักเรียน
การใช้พฤติกรรมเชิงบวกในการจัดการชั้นเรียนและพฤติกรรมนักเรียน มีการจัดกิจกรรม Homeroom โดยครูที่ปรึกษารับฟังปัญหา ให้นักเรียนช่วยระดมความคิดเห็นเชิงบวกอย่างสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ การจัดค่ายผู้นำนักเรียนเพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาต่าง ๆ
2.4 การดําเนินการคุ้มครองนักเรียน ให้ได้รับการศึกษาอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ
2.4.1 มีโครงการ/กิจกรรมที่คุ้มครองนักเรียนในสถานศึกษา
มีโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โครงการเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา และกิจกรรมที่คุ้มครองและดูแลนักเรียนในโรงเรียนในด้านวิชาการ โดยการจัดประชุมผู้ปกครองเพื่อแก้ไขปัญหานักเรียนที่มีแนวโน้มมีผลการเรียน 0 ร มส มผ ในรายวิชาต่าง ๆ โดยผลของความสำเร็จร้อยละ ๑๐๐ โรงเรียนไม่มีนักเรียนที่มีผลคะแนน 0 ร มส มผ
2.4.2 นักเรียนทุกคนได้รับการคุ้มครองด้วยรูปแบบ/วิธีการที่เหมาะสม
นักเรียนทุกคนของโรงเรียน ได้รับการคุ้มครองนักเรียนด้วยรูปแบบวิธีการเหมาะสม โดยมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดมากกว่า 220 ตัว และระบบ SOS เพื่อแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน
2.4.3 มีการเฝ้าระวัง ติดตามและคุ้มครองนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
โรงเรียนมีการจัดเวรพื้นที่เสี่ยงทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน มีการจัดเวรครูผู้ดูแลนักเรียน ณ ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนมีการทำงานร่วมกับเครือข่ายภายนอก อาทิ ตำรวจ เครือข่ายผู้ปกครอง ในการเฝ้าระวังเหตุที่อาจเกิดความไม่ปลอดภัยต่อนักเรียน
2.4.4 มีการจัดการศึกษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสมครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
โรงเรียนมีการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนในทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการนำข้อมูลจากการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้มา PLC มีการวัดประเมินผลในรูปแบบที่หลากหลาย
2.4.5 มีแนวทางการดําเนินงาน นําเด็กที่เสี่ยงและหลุดออกจากระบบเข้าสู่ระบบการเรียน อย่างเป็นรูปธรรม
ครูที่ปรึกษาลงพื้นที่สำรวจสภาพที่อยู่อาศัยของนักเรียนรวมทั้งสภาพแวดสอมโดยรอบ เพื่อดำเนินการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามระบบต่อไป